2026 จำนวนผู้เข้าชม |
ทราบหรือไม่ว่า “น้ำแข็ง” มีขายทั้งแบบไว้ “กิน” และไว้ “ใช้” ไว้ใช้ในที่นี้หมายถึง ไว้ใช้แช่อาหารอื่นๆ ให้เย็น แต่ไม่สามารถนำมาใช้ประกอบอาหาร และเครื่องดื่มเพื่อทานเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนั้นก่อนซื้อ ก่อนทาน ควรมองดูที่ฉลากข้างถุงให้ดีทุกครั้ง
มาตรฐานความปลอดภัยของ “น้ำแข็ง” เริ่มที่ “ผู้ผลิต”
ผู้ผลิต/นำเข้าน้ำแข็งต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) ซึ่งควบคุมตั้งแต่สถานที่ตั้งอาคารที่ผลิต เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต กระบวนการผลิตการสุขาภิบาล การบำรุงรักษาและทำความสะอาด และสุขลักษณะส่วนบุคคล โดยน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำแข็งต้องผ่านการปรับสภาพให้ได้มาตรฐานเทียบเท่าน้ำบริโภคก่อนเข้ากระบวนการผลิตน้ำแข็ง และน้ำแข็งที่ผลิตแล้วต้องมีคุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องน้ำแข็ง
นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหาร และยา เปิดเผยว่า ตามที่มีการส่งต่อข้อมูลทางสื่อออนไลน์ว่า พบการปนเปื้อนของพยาธิในน้ำแข็งหลอดเพราะความไม่สะอาดของกระบวนการผลิต ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการประสานไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อเฝ้าระวังสถานที่ผลิตน้ำแข็งที่ตั้งอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ให้ผลิตน้ำแข็งให้ได้คุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค หากพบว่ากระบวนการผลิต ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด (GMP) ถือว่ามีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และแจ้งงดการผลิตจนกว่าจะปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน หรือหากพบพยาธิหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปน หรือผู้บริโภคได้รับความเจ็บป่วย จากการรับประทานน้ำแข็ง จะเข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษตามจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
น้ำแข็ง ก่อนซื้อก่อนทาน ดูที่ “ฉลาก”
นอกจากนี้ฉลากของน้ำแข็ง ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยแต่จะมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ อย่างน้อยต้องมีชื่ออาหาร เลขสารบบอาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ผู้นำเข้า และประเทศผู้ผลิตสำหรับน้ำแข็งนำเข้าแล้วแต่กรณี และข้อความว่า “น้ำแข็งใช้รับประทานได้” ด้วยตัวอักษรสีน้ำเงิน หรือ“น้ำแข็งใช้รับประทานไม่ได้”ด้วยตัวอักษรสีแดงแล้วแต่กรณี
นายแพทย์พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ผู้บริโภคอ่านฉลากก่อนซื้อ หากเป็นน้ำแข็งหลอดบรรจุถุง ผู้บริโภคควรสังเกตเครื่องหมาย อย. และข้อความ “น้ำแข็งใช้รับประทานได้” บนฉลาก ถุงที่บรรจุต้องสะอาด ไม่ฉีกขาด ไม่มีสิ่งแปลกปลอมในก้อนน้ำแข็ง ส่วนกรณีน้ำแข็งที่ตักขาย ควรสังเกตสถานที่เก็บหรือภาชนะที่บรรจุต้องมีฝาปิดมิดชิด ไม่มีอาหารอื่นมาเก็บปะปนกับน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งต้องใสสะอาด กรณีเป็นน้ำแข็งซองควรนำมาล้างก่อนทุบหรือบด
หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือ E-mail : 1556@fda.moph.go.th หรือตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11000 หรือผ่านทาง Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ
ข้อมูลจาก https://www.sanook.com/health/13469/
เครื่องทำน้ำแข็งเจ็นไอซ์ ดีกว่ายี่ห้ออื่นยังไง
มาตราฐานแหล่งผลิตได้การรับรองอะไรบ้าง เครื่องทำน้ำแข็งเจ็นไอซ์ ได้ มาตราฐาน ce ที่สำคัญคือ มาตราฐาน ETL ซึ่งเป็นตัวที่ได้ยากมากค่ะ เพราะเป็นมาตราฐานส่งออกไป อเมริกา และ ce เป็นมาตราฐานส่งออกยุโรป และ อุปกรณ์ชิ้นส่วนประกอบทั้งหมดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมค่ะ ได้รับมาตราฐานเครื่องหมาย RoHS
อะไหล่หลัก80% ของเครื่องทำน้ำแข็งเจ็นไอซ์เป็นของ เยอรมัน ญี่ปุ่น และ ยุโรปเป็นหลัก เช่น คอมเพรสเซอร์ ยี่ห้อ Secop, Hitachi /ลิ้นควบคุมการไหลเวียนของน้ำยา (expansion valve) ยี่ห้อ Danfoss / พัดลมระบายอากาศ ยี่ห้อ EBM / Inlet valve ยี่ห้อ Invensys เป็นต้น
เรากล้ารับประกันอะไหล่ 2 ปี
เครื่องทำน้ำแข็งเจ็นไอซ์ประหยัดไฟมาก ลองเทียบ การกินไฟ กี่วัตต์ โดยเฉพาะ เครื่องทำน้ำแข็งเกล็ดกรอบ ประหยัดสุดๆ
กำลังการผลิตน้ำแข็งที่แจ้งเป็นกำลังการผลิตที่ทดสอบที่อุณหภูมิอะไร เราทดสอบเครื่องที่อุณหภูมิ 25c และ 35c
ฟรี การติดตั้งพร้อมเดินท่อน้ำ สายไฟ ท่อน้ำทิ้งและ อุปกรณ์ เบรกเกอร์ / ปลั๊กไฟ / บอลวาวล์ และ ติดตั้งเครื่องกรองน้ำ ไม่ใช้แค่ ยกเครื่องไปตั้ง แล้วเสียบปลั๊กไฟ
ฟรี ️เครื่องน้ำกรองน้ำ 4 ขั้นตอน
ที่สำคัญการบริการหลังการขาย เรามีช่างดูแล และมีอะไหล่สำรอง ให้เสมอ และราคาอะไหล่ที่ประหยัด
เราไม่ได้ขายแค่เครื่อง แต่เราขายพร้อมการบริการ และความซื่อสัตย์ รับผิดชอบเครื่องด้วยความใส่ใจ
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
098-2675292 / 02-4092400/ 098-2673479